วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัด

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 
              
รหัสวิชา  0026008 กลุ่มเรียนที่ 1

ชื่อ นางสาว ธนาภรณ์   เสนาเพ็ง  รหัส  57011216077

คณะวิทยาการสารสนเทศ ( MC )  ระบบปกติ

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

จงสรุปแนวทางในการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

ตอบ  อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จักกันดีได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker)และแครกเกอร์ (Cracker) โดยเฉพาะแฮกเกอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานสำคัญๆ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย แต่ไม่ทำลายข้อมูล หรือหาประโยชน์จากการบุกรุกคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนแครกเกอร์ คือ ผู้ซึ่งกระทำการถอดระหัสผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถนำเอาโปรแกรม หรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ใหม่ได้เป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการลักลอกหรือเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

    1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น และในขณะเดียวกันยังตั้งใจที่ทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ ในขณะเดียวกันผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พึงทำการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้

    2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่าในสังคมของเราวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควรเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกเท่านั้น หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ได้ ไม่เป็นที่พึงปรารถนาให้รุนแรงขึ้นได้ การสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป ตลอดจนการคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่จำเป็นในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้

    3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีและพึงปฏิบัติในยุคสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (Citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์

    4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคมพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศแหลหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ก็เพื่อให้สังคมมีความเข้มแข็งและสามารถดำรงอยู่กับเทคโนโลยีได้อย่างยั่งยืน

      5.ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ได้นำเสนอมาตรฐานที่เกี่ยวกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ถึงแม้ว่าเจตนาเดิมของมาตรฐานเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ให้กระบวนการด้านการบริหารงาน แต่เนื่องจากมาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้ได้ผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ส่งผลทำให้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานหลายประการสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ยกตัวอย่าเช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมขององค์กร การควบคุมการเข้าถึง และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย เป็นต้น การศึกษาแนวทางการเข้าสู่มาตรฐานและการนำไปปฏิบัติจะสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีได้ในระดับหนึ่ง

     6. ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศอาจจะรุนแรง และไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น การกำหนดให้ปฏิบัติตามจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เป็นสิ่งจำเป็นผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับบทลงโทษ หรือสัญญา ที่จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่จะมากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น

          จะสังเกตได้ว่าแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งหมดที่กล่าว จะเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ตัวปัจเจกบุคคล จากนั้นจะพิจารณาแก้ปัญหาด้วยวิธีการในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคม ก่อนที่จะใช้วิธีการบังคับด้วยกฎหมาย ซึ่งจะใช้กับปัญหาที่รุนแรง 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น