วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ร้านหน้ามนนมหวาน

ร้านกาแฟเอาใจเด็กแนว..หน้ามนหนมหวาน บางแสน


                 ร้านกาแฟ ขนมหวาน เค้ก เอาใจเด็กแนวที่ไปแจมจะพาไปเช็คอินในวันนี้คือ ร้าน หน้ามนหนมหวาน แค่ชื่อก็แนวแล้วใช่มั้ยคะ รอชมบรรยากาศของร้าน รับรองถูกใจเด็กแนวแน่นอนค่ะ ร้านนี้ตั้งอยู่หลัง มหาลัยบูรพา ซึ่งอยู่ใกล้ตลาดหนองมน หาง่ายๆคือ ตรงข้ามกับร้านก๋วยเตี๋ยวหน้ามน ร้านนี้มีจุดเด่นที่ตัวร้านอยู่ภายใต้ต้นไม้ใหญ่ ที่มีอายุหลายสิบปี ออกแบบให้ต้นไม้เป็นแกนกลาง และมีโต๊ะที่นั่งอยู่รายล้อม โดยใช้กระจกใสทั้งหมด เพื่อให้เห็นวิวโดยรอบๆของร้าน ที่มีแต่ต้นไม้สีเขียว สนามหญ้าสีเขียว ดูแล้วสบายตา




เหมาะแก่การพักผ่อน พบปะสังสรรค์ในหมู่เพื่อน หรือเป็นวันพักผ่อนของครอบครัว ด้วยเมนูขนมหวาน เค้ก และเครื่องดื่มต่างๆ เอาใจคนทุกเพศทุกวัย
ตัวร้านโดดเด่นด้วยต้นไม้ใหญ่ และสนามหญ้าสีเขียว มองดูแล้วให้ความอบอุ่นสบายตา และอากาศที่สดชื่น ยิ่งมาในตอนเย็นๆ แดดร่มลมตก ด้วยแล้วล่ะก็ บรรยากาศยิ่งดีไปใหญ่ค่ะ แต่ช่วงเย็น ลูกค้าที่ร้านหน้ามนหนมหวานจะเยอะเป็นพิเศษนะคะ มีทั้งเด็กนักเรียน น้องๆ ม.บูรพา ใครไม่อยากพลาดบรรยากาศดีๆ ต้องรีบมาจับจองพื้นที่ค่ะ
ต้นไม้ใหญ่ที่เป็นพระเอก นางเอกของร้าน เป็นต้นไม้เก่าแก่ของพื้นที่เดิมก่อนการสร้างร้าน ต้องขอยกนิ้วให้คนออกแบบร้านที่ รักธรรมชาติสุดๆ สามารถสร้างร้านโดยที่ไม่เบียดเบียนต้นไม้ที่เก่าแก่ซึ่งหาได้ยากในบางแสน แถมยังสร้างจุดเด่นให้กับร้านอีกด้วย เรียกได้ว่า เอาใจคนรัก กาแฟขนมหวาน และรักธรรมชาติไปในตัวค่ะ






วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เพลินวาน

เพลินวาน หัวหิน

          เพลินวาน หัวหิน  นอกจากที่หัวหินจะมีน้ำทะเลสวยๆ ชายหาด หาดทรายที่ทอดยาว ยังมี

สถานที่ที่ซึ่งให้คุณหวนละรึกถึงความหลัง วันวาน อันแสนหวาน ความทรงจำที่คุณไม่ควรพลาด กับ

สถานที่ท่องเที่ยว เพลินวาน หัวหิน แม้จะเปิดมานานนแล้ว แต่...เอ! ไม่ใช่สิ! เปิดได้ซักระยะหนึ่ง แต่

ด้วยชื่อที่ติดปาก ความประทับใจของผู้ที่เคยแวะเที่ยวที่เพลินวาน ต่างบอกกันปากต่อปากว่า เพลินวาน 

หัวหิน น่าเที่ยว และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คุณ..ไม่ควรพลาด!!


"เพลิดเพลิน กับวันวาน อันแสนอบอุ่น .... เพลินวาน หัวหิน"









วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัด

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 
              
รหัสวิชา  0026008 กลุ่มเรียนที่ 1

ชื่อ นางสาว ธนาภรณ์   เสนาเพ็ง  รหัส  57011216077

คณะวิทยาการสารสนเทศ ( MC )  ระบบปกติ

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

จงสรุปแนวทางในการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

ตอบ  อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จักกันดีได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker)และแครกเกอร์ (Cracker) โดยเฉพาะแฮกเกอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานสำคัญๆ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย แต่ไม่ทำลายข้อมูล หรือหาประโยชน์จากการบุกรุกคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนแครกเกอร์ คือ ผู้ซึ่งกระทำการถอดระหัสผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถนำเอาโปรแกรม หรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ใหม่ได้เป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการลักลอกหรือเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

    1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น และในขณะเดียวกันยังตั้งใจที่ทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ ในขณะเดียวกันผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พึงทำการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้

    2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่าในสังคมของเราวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควรเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกเท่านั้น หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ได้ ไม่เป็นที่พึงปรารถนาให้รุนแรงขึ้นได้ การสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป ตลอดจนการคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่จำเป็นในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้

    3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีและพึงปฏิบัติในยุคสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (Citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์

    4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคมพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศแหลหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ก็เพื่อให้สังคมมีความเข้มแข็งและสามารถดำรงอยู่กับเทคโนโลยีได้อย่างยั่งยืน

      5.ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ได้นำเสนอมาตรฐานที่เกี่ยวกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ถึงแม้ว่าเจตนาเดิมของมาตรฐานเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ให้กระบวนการด้านการบริหารงาน แต่เนื่องจากมาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้ได้ผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ส่งผลทำให้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานหลายประการสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ยกตัวอย่าเช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมขององค์กร การควบคุมการเข้าถึง และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย เป็นต้น การศึกษาแนวทางการเข้าสู่มาตรฐานและการนำไปปฏิบัติจะสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีได้ในระดับหนึ่ง

     6. ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศอาจจะรุนแรง และไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น การกำหนดให้ปฏิบัติตามจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เป็นสิ่งจำเป็นผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับบทลงโทษ หรือสัญญา ที่จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่จะมากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น

          จะสังเกตได้ว่าแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งหมดที่กล่าว จะเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ตัวปัจเจกบุคคล จากนั้นจะพิจารณาแก้ปัญหาด้วยวิธีการในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคม ก่อนที่จะใช้วิธีการบังคับด้วยกฎหมาย ซึ่งจะใช้กับปัญหาที่รุนแรง 



วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 7


แบบฝึกหัด


บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ


รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน               
รหัสวิชา  0026008 กลุ่มเรียนที่ 1
ชื่อ นางสาว ธนาภรณ์   เสนาเพ็ง  รหัส  57011216077
คณะวิทยาการสารสนเทศ ( MC )  ระบบปกติ

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

จงบอกมาตรการป้องกันการบุกรุกคอมพิวเตอร์ จากภายนอกเครือข่าย

ตอบ  แนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน (Security Measures)

          1) การกำหนดแนวปฏิบัติ (Procedures) และนโยบายทั่ว ๆ ไปในองค์กร อาทิเช่น
               - องค์กรมีนโยบายหรือมาตรการให้ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) บ่อย ๆ หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
               - มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
               - องค์กรอาจมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวภาพ (Biometric devices) มาใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์
               - มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
               - มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
               - ให้ความรู้อย่าสม่ำเสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการบุกรุกของแฮกเกอร์ (Hackers) หรือแครกเกอร์ (Crakers) รวมถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์เมื่อถูกบุกรุก
               - องค์กรควรมีการดูแลและการตรวจตราข้อมูล แฟ้มข้อมูล รวมถึงการสำรองแฟ้มข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงระบบเครือข่าวอย่างสม่ำเสมอ
               - การเก็บข้อมูลหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา (Log files)

2. การป้องกันโดยซอฟต์แวร์ (Virus protection software)
    ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหลายชนิด ทั้งแบบซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และซอฟต์แวร์ที่แจกฟรี อาทิเช่น
     - ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital signatures)
     - การเข้าและถอดรหัส (Encryption)

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 6

แบบฝึกหัด

บทที่ การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน               
รหัสวิชา  0026008 กลุ่มเรียนที่ 1
ชื่อ นางสาว ธนาภรณ์   เสนาเพ็ง  รหัส  57011216077
คณะวิทยาการสารสนเทศ ( MC )  ระบบปกติ

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

นิสิตใช้ Social Software ใดบ้างในชีวิตประจำวันและใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด


ตอบ Blog

         Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง(Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์  ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้  เช่น  การเขียนเรื่องราวของตนเอง  การเขียนวิจารณ์เรื่องราวหรือหัวข้อหรือสิ่งที่ตนเองสนใจต่าง ๆ  เช่น การเขียนวิจารณ์สถานการณ์การเมืองของประเทศไทย   หรือการบอกถึงผลที่ได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้  เป็นต้น

Blog ประกอบด้วย ข้อความ, hypertext, รูปภาพ และ ลิงค์ (ไปยังเว็บวีดีโอข้อมูลเสียงและอื่นๆ) blog จะอยู่ในรูปบทสนทนาระหว่างเอกสาร โดยผู้ที่ใช้ blog สามารถเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นของตนเองได้  ซึ่ง blog มีทั้งเป็น blog เฉพาะบางกลุ่ม หรือเป็นblog ทั่ว ๆ ไปก็ได้ การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging”   บทความในblog เรียกว่า “posts”  หรือ “entries” บุคคลที่โพสลงใน “entries” เหล่านี้เรียกว่า“blogger”

จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ Blog สามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง  ความสะดวกและง่ายในการเขียนBlog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังมีการcomment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันได้อีกด้วย บางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ เพราะบางครั้ง ข้อมูลจาก Blog เป็นข้อมูลที่ไม่เคยปรากฎที่ไหนมาก่อนอีกด้วย

มีผู้คนมากมายในโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq  นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริง 

Blog จะมีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากเว็บเพจมาตรฐานทั่วไป blog จะมีอุปกรณ์ที่จะช่วยให้สร้างหน้าเว็บใหม่ได้ง่าย เช่น การใส่ข้อมูลใหม่(โดยมีหัวข้อประเภท,และเนื้อความทำได้ง่าย มี template อัตโนมัติที่จะจัดการการเพิ่มบทความตามวันที่และหัวข้อเป็น archive มีการกรองเนื้อหาแยกตามวัน ประเภท ผู้แต่งหรืออื่น ๆ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ เพิ่มผู้แต่งคนอื่น โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปโดยง่าย

Blog แตกต่างจากฟอรั่มหรือ newsgroup ตรงที่เฉพาะผู้แต่งหรือกลุ่มผู้แต่งที่จะสามารถสร้างหัวข้อใหม่ใน blog เครือข่ายของ blog อาจเป็นเหมือนฟอรั่มในแง่ที่ว่าทุกหน่วยในเครือข่าย blog สามารถสร้างหัวข้อได้ในหน่วยนั้น ๆ เครือข่ายแบบนี้ต้องมีการเชื่อมโยงกัน group blog ที่มีหลายคนที่ post ข้อความได้ เป็นที่แพร่หลายทั่วไป หรือแม้แต่ blogที่คนทั้งหลายโพสที่ blog ได้ โดยเจ้าของ blog หรือ บรรณาธิการของ blog จะเป็นผู้เปิดประเด็นการอภิปราย

Blog ถูกมองว่าเป็นการรวบรวมความคิดของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ช่วยกับปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น โรคซึมเศร้าและการเสพติด นอกจากนี้ก็สามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมได้



วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัด

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ                                                    
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน               
รหัสวิชา  0026008 กลุ่มเรียนที่ 1
ชื่อ นางสาว ธนาภรณ์   เสนาเพ็ง  รหัส  57011216077

คณะวิทยาการสารสนเทศ ( MC )  ระบบปกติ

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

จงอธิบายกระบวนการจัดการสารสนเทศ


ตอบ การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ


การจัดการสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีขั้นตอนการจัดการที่ดีและเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่ การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล  และการดูแลรักษา ซึ่งจะแยกเป็นรายละเอียดดังต่อไปนี้

        1) การรวบรวมข้อมูล
                  การเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก จะต้องมีการดำเนินการที่รอบคอบและเป็นระบบ ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บให้ทันเวลา เช่น  การลงทะเบียนเรียนของนักเรียน  ประวัตินักเรียน ผลการเรียนของนักเรียน การมาเรียน ความประพฤติ การยืมคืนหนังสือห้องสมุด ซึ่งใน ปัจจุบันจะมีการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บ โดยการนำข้อมูลที่กรอกลงในแบบกรอกข้อมูลที่เป็นกระดาษมาป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  หรือการอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวนักเรียนที่มีรหัสแท่งเพื่อลงเวลามาเรียน ใช้ในการยืมคืนหนังสือ การป้อนข้อมูลความประพฤติของนักเรียนเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์


        2) การตรวจสอบข้อมูล
                  เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล  เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง  ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้  หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข  ทั้งนี้ข้อมูลที่ถูกต้องจะส่งผลทำให้สารสนเทศที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ นำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-            3)การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ
                  การจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของข้อมูล  ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม  เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน
-การจัดเรียงข้อมูล การจัดเรียงข้อมูลส่วนใหญ่จะมีการจัดเรียงตามลำดับ  ตัวเลข  หรือตัวอักษร  หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา
-การสรุปผล  ข้อมูลที่ปริมาณมากๆ  อาจมีความจำเป็นต้องสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์
 -การคำนวณ  ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้  สารสนเทศบางอย่างจะต้องมีการคำนวณข้อมูลเหล่านั้นด้วย
 -การค้นหาข้อมูล  บางครั้งในการใช้ข้อมูลจะต้องมีการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเท่านั้น ดังนั้นการประมวลผลจะต้องมีการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลให้สามารถค้นหาข้อมูลได้โดยจะต้องค้นได้ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว เช่นการค้นหาข้อมูลหนังสือของห้องสมุด

        4)การดูแลรักษาสารสนเทศ
        การดูแลสารสนเทศเพื่อการใช้งาน
  ประกอบด้วย การเก็บรักษาข้อมูล
 การดูแลรักษาข้อมูลจะต้องมีการ การนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ  เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล  และทำสำเนาข้อมูล  เพื่อให้ใช้งานต่อไปได้

         5)การสื่อสาร 
         ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย  การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 4

แบบฝึกหัด

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ   กลุ่มเรียนที่ 1

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน       
รหัสวิชา 0026008
ชื่อ นางสาว ธนาภรณ์   เสนาเพ็ง  รหัส  57011216077
คณะวิทยาการสารสนเทศ ( MC )  ระบบปกติ


1 .ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อล่ะ 3 ชนิด
แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน

1) การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
ตอบ เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, บัตรATM

2) การแสดงผล
ตอบ เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์

3) การประมวลผล
ตอบ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์, ลูกคิด, เครื่องเจาะบัตร

4) การสื่อสารและเครือข่าย
ตอบ โทรทัศน์, วิทยุ, อินเทอร์เน็ต


2.       ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
…… ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
…… Information Technology
2. e-Revenue
…… คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
……เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และDecoder
……ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการททำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย

…… ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
…… การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
…… EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
…… การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
……บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


1.ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมลงในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
ตอบ 3 = ซอฟต์แวร์ประยุกต์
        10 = Information Technology
        8 = คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
        4 = เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
        1 = ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
        7 = ซอฟต์แวร์ระบบ
        9 = การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
        5 = EDI
        6 = การสื่อสารโทรคมนาคม
        2 = บริการชำระภาษีออนไลน์

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 3

แบบฝึกหัด

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ           กลุ่มเรียนที่ 1

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน      
รหัสวิชา 0026008
ชื่อ นางสาว ธนาภรณ์   เสนาเพ็ง  รหัส  57011216077
คณะวิทยาการสารสนเทศ ( MC )  ระบบปกติ

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ก. ความสามารถในการกลั่นกรอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงต้องการสารสนเทศ
ข. ความสารถในการค้นหาสารสนเทศ
ค. ความสามารถในการประเมินผลสารสนเทศ
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศได้

4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
1. โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
2. ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
3. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
4. ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ก. 1-2-3-4-5     ข. 2-4-5-3-1       ค. 5-4-1-2-3   ง. 4-3-5-1-2